ขั้นตอนการทอผ้าไหม และผ้ามัดหมี่

ผัดไหมมัดหมี่จัดเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ทำกันมาอย่างยาวนาน ส่วนหนึ่งคือการได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวกับกัมพูชา ทำให้การทอผ้าไหมมัดหมี่จัดเป็นงานศิลปะที่มีความสวยงาม ละเอียดลออ ต้องใช้ฝีมือของผู้มีประสบการณ์การทอเท่านั้น ซึ่งขั้นตอนของการทอผ้าไหมมัดหมี่ไม่ใช่เรื่องง่ายจำเป็นต้องมีการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นประจำจึงจะสามารถทอออกมาได้อย่างสวยงาม ลองมาดูขั้นตอนการทอผ้าไหมมัดหมี่ว่าต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง

4 ขั้นตอนการทอผ้าไหมมัดหมี่ที่ควรรู้

  1. การค้นเครือเส้นยืน – นำเส้นไหมยืนที่ได้จากการลอกกาวไหม ย้อมสีบนพื้นเส้นไหมเอาเข้ากรงกรอเส้นไหมเข้าอัก นำเส้นไหมที่ถูกกรอด้วยอักเข้าเส้นฟืมเพื่อคันเส้นยืนเตรียมทอ
  2. เตรียมฟืมทอผ้า – พอเส้นยืนค้นเครือเสร็จก็จัดเรียงเข้าฟันหวี แต่ละช่องใสด้ายประมาณ 2 เส้นหรือตามถนัด ขึงด้ายให้ตึง จัดเรียงให้เรียบร้อยแล้วเก็บตะกอ เมื่อจัดเรียงเส้นยืนเรียบร้อยใช้น้ำแป้งข้าวหรือแป้งมันสำปะหลังพรมหรือชุบผ้าทาให้ทั่ว เสร็จปล่อยให้แห้ง ทาด้วยขี้ผึ้งไม่ก็ไขสัตว์ เพื่อให้ด้ายลื่น แข็งแรง ไม่ขาดง่าย ไม่เป็นขุย
  3. เตรียมเส้นพุ่ง – ประกอบไปด้วย
  • ค้นเส้นพุ่ง ใช้โฮงมัดหมี่โบราณที่มีไม้หลัก 2 อัน ค้นเส้นพุ่งแต่ละลายลำจะไม่เท่ากัน แต่ละลำมีด้าย 4 เส้น ทำไพคั่นกลางระหว่างลำไว้ ปกติจะค้นประมาณ 2 รอบ พอเสร็จก็มัดหัวลำตามไพ
  • มัดหมี่ มัดตามจุดจากลายที่ออกแบบด้วยเชือก แต่นิยมใช้เชือกฟาง เพราะซื้อง่าย สะดวก นำเส้นไหมออกจากโฮงย้อมสีตามครั้งของเฉดที่ต้องการหรือตามมัดหมี่ไว้ แต่ตรงที่มัดหมี่ต้องไม่ติดสี ส่วนการย้อมสีซ้ำต้องย้อมหลังการตากแดดครั้งแรกให้สีแห้งก่อน
  • การมัดหมี่ เริ่มด้วยการมัดเก็บขาว แบ่งได้ 2 วิธี คือ มัดทุกลายในหัวหมี่เดียวกัน กับ มัดแยกแต่ละลายในหัวหมี่แล้วต่อตอนทอผ้า
  • กรอกเส้นไหม้เข้าหลอด – นำหัวมัดหมี่ที่แกะเชือกใส่ในกงทำการกรอเส้นไหมเข้าอักเข้าหลอดด้ายด้วยไน ต้องมีการเรียงลำดับหลอดด้ายตามสีที่ออกแบบไว้ด้วย
  1. ทอผ้ามัดหมี่ – การทอไหมเริ่มเมื่อเตรียมฟืมและเส้นพุ่งเรียบร้อย ใช้หลอดด้ายที่ถูกเรียงลำดับจากเฉดสีหรือลายเอาไว้แล้วใส่ในกระสวยสำหรับทอด้วยพุงกระสวยผ่านตัวร่องสลับของลำไหมไปมาเรื่อยๆ ซ้ายขวาจนสุดเส้นยืน

 

อย่างที่กล่าวว่าการทอผ้าไหมมัดหมี่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญอย่างยิ่งทำให้ผ้าไหมและผ้ามัดหมี่จึงเป็นงานที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมสูง